วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

เห็นแก่ลูก

เห็นแก่ลูก

พระราชประวัติ                
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ทรงพระราชนิพนธ์ ใช้พระนามแฝง พระขรรค์เพชร) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เป็นทั้ง ปราชญ์และจินตกวีทรงเชี่ยวชาญทางด้านอักษรศาสตร์ ได้ทรงพระราชนิพนธ์งานวรรณคดีประเภทต่าง ๆ ทั้งบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษกว่า ๒๐๐ เรื่อง อาทิ มัทนะพาธา อุตตะระกุรุ (ทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาอังกฤษ )ลัทธิเอาอย่าง  พระองค์ใช้พระนามแฝง เช่น อัศวพาหุ   รามจิตติ  ศรีอยุธยา          พันแหลม นายแก้ว นายขวัญ  เป็นต้น  นอกจากนี้  พระองค์ทรงยกฐานะโรงเรียน มหาดเล็กหลวงขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จัดตั้งธนาคารออมสิน  ตราพระราชบัญญัติการประถมศึกษา พระราชบัญญัติ  ขนานนามสกุล ตั้งกองเสือป่าและลูกเสือ

จุดมุ่งหมายในการแต่ง
ใช้เป็นบทละครพูด  แสดงเพื่อความบันเทิงที่แฝงข้อคิดให้เห็นถึงความรัก  ความเสียสละของพ่อที่มีต่อลูก

เนื้อเรื่องย่อ
นายล้ำมาที่บ้านพระยาภักดีนฤนาถ มีอ้ายคำซึ่งเป็นคนรับใช้ของพระยาภักดีให้การต้อนรับ และนั่งคอยดูอยู่ห่างๆเนื่องจากไม่ไว้ใจเพราะเห็นสภาพของนายล้ำที่แต่งตัว ปอนๆ ท่าทางดื่มเหล้าจัดจนเมื่อพระยาภักดีกลับมาบ้านได้พบนายล้ำจึงทำให้ทราบ เรื่องราวของคนทั้งสอง จากการสนทนาโต้ตอบกันว่า เดิมนายล้ำเป็นเพื่อนกับพระยาภักดี ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหลวงกำธร ส่วน นายล้ำเป็นทิพเดชะ นายล้ำมีภรรยา คือแม่นวล มีลูกสาวคือ แม่ลออ เมื่อแม่ลออมีอายุ 2 ขวบ เศษ นายล้ำก็ถูกจำคุกเพราะทุจริตต่อหน้าที่ แม่นวลเลี้ยงดูลูกสาวมาตามลำพัง ก่อนตายจึงยก ลูกสาวให้เป็นลูกบุญธรรมของพระยาภักดี นายล้ำจำคุกอยู่ 10 ปี    ก็ออกจากคุกไปร่วมค้าฝิ่นอยู่ กับจีนกิมจีนเง็ก ที่พิษณุโลก พอถูกตำรวจจับได้ก็แก้ข้อกล่าวหาเอาตัวรอด  ฝ่ายเดียว ต่อมาก็ ตกอยู่ในสภาพสิ้นเนื้อประดาตัว จึงตั้งใจจะมาอยู่กับแม่ลออ ซึ่งมีอายุ 17 ปี กำลังจะแต่งงาน กับนายทองคำ แต่พระยาภักดีพยายามชี้แจงให้นายล้ำเห็นแก่ลูกสาวไม่ต้องการให้ถูกคนอื่น รังเกียจว่ามีพ่อเป็นคนขี้คุกและฉ้อโกง จนในที่สุดเสนอเงินให้ 100 ชั่ง แต่นายล้ำก็ไม่ยอมเมื่อ แม่ลออ      กลับมาถึง นายล้ำจึงได้รู้จักกับแม่ลออและได้เห็นประจักษ์ว่าตนเลวเกินกว่าจะเป็นพ่อของแม่ลออ  ซึ่งหล่อนได้วาดภาพพ่อไว้ในใจว่า พ่อเป็นคนดีที่หาที่ติไม่ได้เลย ก่อนกลับนายล้ำได้มอบแหวนของแม่นวลฝากพระยาภักดีนฤนาถ ให้แม่ลออเป็นของรับขวัญแต่งงาน แล้วเดินจากไป

ลักษณะการแต่ง
เรื่องเห็นแก่ลูกแต่งเป็นบทละครพูดล้วนๆ หรือละครพูดแบบร้อยแก้ว คือ ให้ตัวละครสนทนาโต้ตอบกันเหมือนในชีวิตจริง ไม่มีดนตรี ไม่มีรำ ไม่มีการขับร้อง เป็นเรื่องขนาดสั้น มี 1 องค์ หรือ ๑ ตอน

สิ่งที่ได้จากเรื่อง 

คำศัพท์สมัยก่อน
๑.      รับประทานโทษ          หมายถึง                             ได้รับโทษ
๒.     เกลอเก่า                         หมายถึง                                เพื่อนเก่า
๓.     เป็นโทษ                        หมายถึง                                ได้รับโทษ
๔.     หมอความ                     หมายถึง                                ทนายความ
๕.     ระหายน้ำ                      หมายถึง                                กระหายน้ำ
๖.      เกล้ากระผม                  หมายถึง                                ผม(คำเรียกตนเอง)
๗.     ชั่ง                                   หมายถึง                                มาตราเงินในสมัยก่อน ๑ ชั่ง เท่ากับ ๘o บาท
๘.     ขยาย                               หมายถึง                                เปิดเผย
๙.      ช่างพูด                           หมายถึง                                พูดเก่ง
๑๐.  รูปฉาย                           หมายถึง                                รูปถ่าย
๑๑.  เป็นโทษ                        หมายถึง                                ติดคุก
๑๒.แล                                  หมายถึง                                และ
๑๓. หมาหัวเน่า                  หมายถึง                                คนที่ถูกรังเกียจ
๑๔. เสมียนบาญชี              หมายถึง                                นักบัญชี
๑๕. อาญาจักร                     หมายถึง                                โทษ
๑๖. อินัง                               หมายถึง                                สนใจ เอาใจใส่
๑๗. สาวใหญ่                      หมายถึง                                ผู้หญิงที่โตเป็นสาวแล้ว
๑๘. ดูเกินเวลา                    หมายถึง                                ไม่ทันเวลา
๑๙. มีเหย้ามีเรือน               หมายถึง                                แต่งงานมีครอบครัว
o. ตกรก                             หมายถึง                                ตกนรก


ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
๑. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๒. ยาเสพติดเป็นบ่อเกิดของความหายนะ
๓. ผู้ที่กลับตัวเป็นคนดี ย่อมได้รับการให้อภัย
๔. ความรักและความภูมิใจที่บิดามีต่อบุตร ทำให้บิดายอมเสียสละให้แก่บุตรโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆทั้งสิ้น
. เหตุการณ์ที่กระทบใจมนุษย์ และมีผลให้มนุษย์แปรเปลี่ยนความตั้งใจไปได้อย่างตรงกันข้ามนั้น
อาจเกิดได้โดยไม่ได้คาดฝัน และโดยมิใช่เจตนาของใครทั้งสิ้น

ภาพสะท้อนจากเรื่องเห็นแก่ลูก
. เรื่องการมีคนรับใช้
สมัยก่อน บ้านของผู้มียศ ตำแหน่ง คนร่ำรวยจะมีคนรับใช้ หากบ้านใดมีคนรับใช้มากก็แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่ง ร่ำรวยของตนเอง
สมัยปัจจุบัน บ้านของคนที่มีตำแหน่ง หรือร่ำรวยจะมีคนรับใช้เพียงน้อยนิด ไม่มากเหมือนคนในสมัยก่อน อีกทั้งในปัจจุบันคนส่วนมากแล้วจะอยู่เป็นครอบครัวเล็ก
. เรื่องการแต่งงาน
สมัยก่อน ผู้หญิงสมัยก่อนเมื่ออายุได้ ๑๕ ปีขึ้นไป พ่อแม่ของฝ่ายหญิงจะให้แต่งงาน ออกเรือน ไปอยู่กับสามี
สมัยปัจจุบัน ผู้หญิงจะแต่งงานได้เมื่อมีความพร้อมคุณวุฒิและวัยวุฒิ หรือหลังจากเรียนจบ หลังจากได้งานทำ หรือมีความมั่นคงทางฐานะ
. เรื่องตำแหน่งทางราชการ
สมัยก่อน มีตำแหน่งทางรายการ ๖ ตำแหน่ง ได้แก่ หมื่น  ขุน  หลวง  พระ  พระยา  สมเด็จเจ้าพระยา
สมัยปัจจุบัน ตำแหน่งนั้นได้ยกเลิกใช้ไปแล้ว
. หน่วยเงินที่ใช้
สมัยก่อน ใช้หน่วยเงินเป็น ชั่ง
สมัยปัจจุบัน ใช้หน่วยเงินเป็น บาท
. ของรับขวัญแต่งงาน
สมัยก่อน เมื่อมีการแต่งงานเกิดขึ้นจะพ่อแม่ หรือญาติที่สนิท ให้ของรับขวัญแต่งงาน เช่น สร้อยคอ สร้อยแขน แหวน กำไล หรือเงิน
สมัยปัจจุบัน ยังมีการให้ของรับขวัญแต่งงานเหมือนในอดีต



บทพากย์เอราวัณ


บทพากย์เอราวัณ

ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็กพระพุทธเลิศหน้านภาลัย
พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิสรสุนทร ฉิม

จุดมุ่งหมายในการแต่ง
สำหรับแสดงโขน

ลักษณะการแต่ง
กาพย์ฉบัง  ๑๖

ลักษณะคำประพันธ์ 
-    บทมี    วรรค  แบ่งเป็นวรรคแรก    คำ  วรรคสอง    คำและวรรคสาม    คำ
-  ใน    บท  มีสัมผัสบังคับ    แห่ง  คือ 
                    คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
-  มีสัมผัสระหว่างบทอยู่ที่คำสุดท้ายของบทแรกกับคำสุดท้ายของวรรคแรกของบทต่อไป


   *** หมายเหตุ
                    
                     สีแดง หมายถึง สัมผัสระหว่างวรรค

                     สีน้ำเงิน หมายถึง สัมผัสระหว่างบท

เนื้อเรื่องย่อ
อินทรชิตลูกของทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เดิมชื่อรณพักตร์ เรียนวิชาศิลปศาสตร์ ณ สำนักฤาษีโคบุตร ภายหลังเรียนมนต์ชื่อมหากาลอัคคี สำหรับบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสามแล้ว ก็ไปนั่งภาวนาอยู่จนครบ  ๗ ปี พระเป็นเจ้าเสด็จมาพร้อมกันทั้งสามองค์
พระอิศวร ประทานศรพรหมาสตร์ และบอกเวทแปลงตัวเป็นพระอินทร์
พระพรหม ประทานศรนาคบาศ และให้พรเมื่อตายบนอากาศ ถ้าหัวขาดตกลงพื้นดินให้กลายเป็นไฟบรรลัยกัลป์ ต่อเมื่อได้พานทิพย์ของพระพรหมมารองรับ จึงจะไม่ไหม้
พระนารายณ์ ประทานศรวิษณุปาณัม
ครั้งหนึ่งทศกัณฐ์ให้รณพักตร์ไปปราบพระอินทร์  เมื่อรบชนะพระอินทร์ ทศกัณฐ์จึงให้ชื่อใหม่ว่า อินทรชิต แปลว่า มีชัยชนะแก่พระอินทร์
เมื่อศึกติดลงกา อินทรชิตทำพิธีชุบศรพรหมาสตร์ แต่ไม่สำเร็จ เพราะทศกัณฐ์บอกข่าวการตายของกุมภกรรณ อินทรชิตจึงออกรบโดยแปลงกายเป็นพระอินทร์ และให้การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณอันงดงามเมื่อทัพพระลักษณ์เห็นก็เคลิบเคลิ้มหลงกล อินทรชิตจึงแผลงศรนาคบาศถูกตัวพระลักษณ์และทัพวานร





การเขียนคำขวัญ

การเขียนคำขวัญ

ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้คำขวัญเชิญชวน โน้มน้าวใจผู้ฟัง ผู้อ่านให้ตระหนัก และคล้อยตามในสถานการณ์แตกต่างกันไป หน่วยงานราชการ องค์กรต่าง ๆ จัดประกวดคำขวัญทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป การเขียนคำขวัญเป็นงานเขียนที่ต้องใช้ความสามารถในแง่ของการใช้ถ้อยคำ   ที่กระชับ รัดกุมและมีความหมายเด่น แปลก และต้องคล้องจองเพื่อจดจำได้ง่ายการเขียนคำขวัญเนื่องในโอกาสใดโอกาสหนึ่ง ผู้เขียนต้องแสดงความคิดเห็นที่เด่นชัดในเรื่องนั้นขึ้นมา เลือกคำที่มีน้ำหนัก มีความหมายกระชับ นำมาผูกเป็นประโยคสั้น ๆ และให้มีคำสัมผัสกันบ้าง ก็จะได้คำขวัญที่น่าสนใจ ตรงจุดมุ่งหมายความหมาย

คำขวัญ คือ คำพูดที่กล่าวให้เป็นข้อคิดหรือแนวทางปฏิบัติเนื่องในกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือโอกาสใดโอกาสหนึ่ง เป็นข้อเตือนให้ระลึกถึงหน้าที่การงานและความประพฤติต่าง ๆ


หลักการใช้ภาษาในการเขียนคำขวัญ
การเขียนคำขวัญให้น่าสนใจ ควรคำนึงในประเด็นต่อไปนี้
1. ใช้ถ้อยคำสั้น กะทัดรัด มีความหมายลึกซึ้ง ใช้คำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 16 คำ
     แบ่งเป็นวรรคได้ตั้งแต่ 1 - 4 วรรค เช่น
-                   ทุกข์ที่ไหน กาชาดไปที่นั่น
-                   ห้องสมุด ดุจขุมคลัง แห่งปัญญา
-                   มารยาทงาม น้ำใจดี
-                   ทุกชีวี จะปลอดภัย
-                   อากาศเป็นพิษ ชีวิตจะสั้น
       -     ต้นไม้เท่านั้น ทั้งกันและแก้

2. เขียนให้ตรงจุดมุ่งหมาย แสดงความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเด่นชัด หรือมีใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว เพื่อให้จำง่าย เช่น
       -     แสดงพลังประชาธิปไตย ด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       -     หลายชีวิต รอโลหิตจากท่าน
       -     ขับรถถูกกฎ ช่วยลดอุบัติเหตุ
       -     ทิ้งขยะไม่เลือกที่ หมดราศีไปทั้งเมือง
       -     ครูคือพลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู
       -     น้ำมีคุณค่ามหาศาล อย่าล้างผลาญโดยไม่จำเป็น
       -     จับจ่ายรู้ค่า ถึงเวลาจ่ายคืน


3. จัดแบ่งจังหวะคำสม่ำเสมอ เช่น
        -    ยอมลำบากเมื่อหนุ่ม ดีกว่ากลุ้มเมื่อแก่
        -    ประเทศเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว
        -    ยามศึกเรารบ ยามสงบเราเตรียม
        -    กตัญญูระลึกอยู่ในจิต สุจริตระลึกอยู่ในใจ


4. เล่นคำทั้งเสียง และสัมผัสและการซ้ำคำ ช่วยให้จำง่าย เช่น
        -    เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
        -    ยามศึกเรารบ ยามสงบเราเตรียม
        -    ขับเร็วชิดขวา ขับช้าชิดซ้าย
        -    สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข


5. เป็นคำตักเตือนให้ปฏิบัติในทางที่ดี เช่น
        -    เลือกคนดีเข้าสภา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
        -    เลือกตั้งเป็นหน้าที่ เลือกคนดีมาปกครอง
        -   ทำดีให้คนเกรง ดีกว่าเป็นนักเลงให้คนกลัว

ลักษณะของคำขวัญที่ดี
. เขียนตามวัตถุประสงค์
. ใช้ถ้อยคำถูกต้องตามหลักภาษาไทย
. คำขวัญนิยมใช้คำสัมผัสคล้องจอง
. ใช้สำนวนโวหารเปรียบเทียบ นอกจากไพเราะสละสลวยแล้ว คำขวัญต้องเปรียบเทียบ             
     ได้เหมาะสม ต้องคมในด้านความคิด
. คำขวัญ ต้องมีขนาดไม่ยาวไม่สั้นเกินไป มีความกระชับ กะทัดรัดชัดเจน เป็นไปตามเกณฑ์กติกา   
     ที่กำหนดด้วย
. แนวความคิดเชิงสร้างสรรค์ ควรเขียนในเชิงบวก การเขียนคำขวัญอย่าให้รู้สึกไม่ดี หรือน่ากลัว

          ตัวอย่างคำขวัญ