วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2555

การเขียนคำขวัญ

การเขียนคำขวัญ

ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้คำขวัญเชิญชวน โน้มน้าวใจผู้ฟัง ผู้อ่านให้ตระหนัก และคล้อยตามในสถานการณ์แตกต่างกันไป หน่วยงานราชการ องค์กรต่าง ๆ จัดประกวดคำขวัญทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป การเขียนคำขวัญเป็นงานเขียนที่ต้องใช้ความสามารถในแง่ของการใช้ถ้อยคำ   ที่กระชับ รัดกุมและมีความหมายเด่น แปลก และต้องคล้องจองเพื่อจดจำได้ง่ายการเขียนคำขวัญเนื่องในโอกาสใดโอกาสหนึ่ง ผู้เขียนต้องแสดงความคิดเห็นที่เด่นชัดในเรื่องนั้นขึ้นมา เลือกคำที่มีน้ำหนัก มีความหมายกระชับ นำมาผูกเป็นประโยคสั้น ๆ และให้มีคำสัมผัสกันบ้าง ก็จะได้คำขวัญที่น่าสนใจ ตรงจุดมุ่งหมายความหมาย

คำขวัญ คือ คำพูดที่กล่าวให้เป็นข้อคิดหรือแนวทางปฏิบัติเนื่องในกรณีใดกรณีหนึ่ง หรือโอกาสใดโอกาสหนึ่ง เป็นข้อเตือนให้ระลึกถึงหน้าที่การงานและความประพฤติต่าง ๆ


หลักการใช้ภาษาในการเขียนคำขวัญ
การเขียนคำขวัญให้น่าสนใจ ควรคำนึงในประเด็นต่อไปนี้
1. ใช้ถ้อยคำสั้น กะทัดรัด มีความหมายลึกซึ้ง ใช้คำตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป แต่ไม่ควรเกิน 16 คำ
     แบ่งเป็นวรรคได้ตั้งแต่ 1 - 4 วรรค เช่น
-                   ทุกข์ที่ไหน กาชาดไปที่นั่น
-                   ห้องสมุด ดุจขุมคลัง แห่งปัญญา
-                   มารยาทงาม น้ำใจดี
-                   ทุกชีวี จะปลอดภัย
-                   อากาศเป็นพิษ ชีวิตจะสั้น
       -     ต้นไม้เท่านั้น ทั้งกันและแก้

2. เขียนให้ตรงจุดมุ่งหมาย แสดงความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเด่นชัด หรือมีใจความสำคัญเพียงอย่างเดียว เพื่อให้จำง่าย เช่น
       -     แสดงพลังประชาธิปไตย ด้วยการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
       -     หลายชีวิต รอโลหิตจากท่าน
       -     ขับรถถูกกฎ ช่วยลดอุบัติเหตุ
       -     ทิ้งขยะไม่เลือกที่ หมดราศีไปทั้งเมือง
       -     ครูคือพลังสร้างแผ่นดิน ไทยทุกถิ่นน้อมบูชาพระคุณครู
       -     น้ำมีคุณค่ามหาศาล อย่าล้างผลาญโดยไม่จำเป็น
       -     จับจ่ายรู้ค่า ถึงเวลาจ่ายคืน


3. จัดแบ่งจังหวะคำสม่ำเสมอ เช่น
        -    ยอมลำบากเมื่อหนุ่ม ดีกว่ากลุ้มเมื่อแก่
        -    ประเทศเป็นบ้าน ทหารเป็นรั้ว
        -    ยามศึกเรารบ ยามสงบเราเตรียม
        -    กตัญญูระลึกอยู่ในจิต สุจริตระลึกอยู่ในใจ


4. เล่นคำทั้งเสียง และสัมผัสและการซ้ำคำ ช่วยให้จำง่าย เช่น
        -    เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
        -    ยามศึกเรารบ ยามสงบเราเตรียม
        -    ขับเร็วชิดขวา ขับช้าชิดซ้าย
        -    สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข


5. เป็นคำตักเตือนให้ปฏิบัติในทางที่ดี เช่น
        -    เลือกคนดีเข้าสภา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
        -    เลือกตั้งเป็นหน้าที่ เลือกคนดีมาปกครอง
        -   ทำดีให้คนเกรง ดีกว่าเป็นนักเลงให้คนกลัว

ลักษณะของคำขวัญที่ดี
. เขียนตามวัตถุประสงค์
. ใช้ถ้อยคำถูกต้องตามหลักภาษาไทย
. คำขวัญนิยมใช้คำสัมผัสคล้องจอง
. ใช้สำนวนโวหารเปรียบเทียบ นอกจากไพเราะสละสลวยแล้ว คำขวัญต้องเปรียบเทียบ             
     ได้เหมาะสม ต้องคมในด้านความคิด
. คำขวัญ ต้องมีขนาดไม่ยาวไม่สั้นเกินไป มีความกระชับ กะทัดรัดชัดเจน เป็นไปตามเกณฑ์กติกา   
     ที่กำหนดด้วย
. แนวความคิดเชิงสร้างสรรค์ ควรเขียนในเชิงบวก การเขียนคำขวัญอย่าให้รู้สึกไม่ดี หรือน่ากลัว

          ตัวอย่างคำขวัญ














 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น