วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

สมบัติวรรณคดีของไทย


สมบัติวรรณคดีของไทย

ความหมายของวรรณคดี

     วรรณคดี หมายถึง หนังสือที่มีคุณค่าทั้งด้านเนื้อหาและศิลปะการแต่งและได้รับความนิยมมาเป็นเวลายาวนาน ซึ่งสามารถบ่งบอกลักษณะได้ดังนี้
          ๑.๑   มีเนื้อหาดี มีประโยชน์และเป็นสุภาษิต
          ๑.๒ มีศิลปะการแต่งที่ยอดเยี่ยมทั้งด้านศิลปะ  การใช้คำศิลปะการใช้โวหาร  และถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
          ๑.๓ เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมและสืบทอดกันมายาวนานกว่า ๑๐๐ ปี

 *** รู้หรือไม่ !!!
วรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้กำหนดประเภทของวรรณคดีไว้ ๕ ประเภทดังนี้
       ๑.   กวีนิพนธ์ ได้แก่ หนังสือที่แต่งด้วยร้อยกรอง (โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต กลบท (กลอนกลบท ,โคลงกลบท ,ร่ายกลบท))
              ๒.    ละครไทย ได้แก่ หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยกลอนบทละคร เช่น บทละครใน บทละครนอก
              ๓.    นิทาน ได้แก่ หนังสือเล่าเรื่องอย่างร้อยแก้วเป็นบันเทิงคดี เช่น สามก๊ก
              ๔.    ละครพูด ได้แก่ หนังสือที่แต่งเป็นบทละครพูด เช่น หัวใจนักรบ ,เห็นแก่ลูก
              ๕.    อธิบาย ได้แก่ หนังสือที่แต่งเป็นความเรียง มีเนื้อหาเป็นสารคดี เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน 

 *** รู้หรือไม่ !!!
      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งวรรณคดีสโมสร ขึ้นเมื่อวันที่ 23กรกฎาคม พ.ศ.2457 และ วรรณคดีสโมสร ยุติบทบาทลงในปี พ.ศ.2468  

               วรรณกรรม หมายถึง 
สิ่งพิมพ์ทุกชนิดทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง ทั้งสั้นและยาว ทั้งดีและไม่ดี เกิดขึ้นนานแล้วหรือเพิ่งเกิดขึ้นก็ได้
              วรรณกรรมในโลกนี้แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑.)   สารคดี หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อมุ่งให้ความรู้ ความคิด ประสบการณ์แก่ผู้อ่าน ซึ่งอาจใช้รูปแบบร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้
๒.) บันเทิงคดี คือ วรรณกรรมที่แต่งขึ้นเพื่อมุ่งให้ความเพลิดเพลิน สนุกสนาน บันเทิงแก่ผู้อ่าน จึงมักเป็นเรื่องที่มีเหตุการณ์และตัวละคร
วรรณกรรมร่วมสมัย หมายถึง
          ๑.) หมายถึง หนังสือตั้งแต่ ๒ เล่มขึ้นไปที่เกิดในยุคสมัยเดียวกัน เช่น ไตรภูมิพระร่วง และสุภาษิตพระร่วง           
เป็นวรรณคดีร่วมสมัยกัน
          ๒.) หมายถึง หนังสือหรือสิ่งพิมพ์เล่มที่ผู้แต่งกับผู้อ่านมีชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบันเหมือนกัน

เนื้อหาวรรณคดีของไทย
             -  วรรณคดีพระพุทธศาสนา  ซึ่งมุ่งแสดงหลักคำสอนและเน้นให้เห็นผลของความดีความชั่ว เช่น ไตรภูมิพระร่วง , นิทานชาดกเรื่องเวสสันดร , เสื่อโคคำฉันท์ , สมุทรโฆษคำฉันท์
             -  วรรณคดีสุภาษิตคำสอน  ซึ่งมุ่งแสดงแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนในสังคม เช่น สุภาษิตพระร่วง , โคลงทศรถสอนพระราม , โคลงพาลีสอนน้อง , กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ , สุภาษิตสอนหญิง , โคลงโลกนิติ , อิศริญาณภาษิต
             -  วรรณคดีเกี่ยวกับประเพณีและพิธีกรรม  ซึ่งมุ่งแสดงถึงศิลปะและวัฒนธรรม  ประเพณี เช่น พระราชพิธี 12 เดือน , ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง , โคลงทวาทสมาส 
             -  วรรณคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์  ซึ่งมุ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพสังคมในสมัยนั้นๆ เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย , ยวนพ่ายโคลงดั้น , โคลงเฉลิมพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี , ศิลาจารึก , พระราชพงศาวดาร(พระโหราธิบดี)
              - วรรณคดีเพื่อความบันเทิง ซึ่งมุ่งให้ความสนุกสนาน รวมทั้งเพื่อฟังเสียงไพเราะของคำประพันธ์ด้วย เช่น บทละครนอก , บทละครใน , บทละครร้อง , บทละครดึกดำบรรพ์ และบทละครพูด
              - วรรณคดีบันทึกความรู้สึกของผู้เดินทาง  ซึ่งบันทึกเส้นทางในการเดินทาง  สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน  ธรรมชาติตามเส้นทาง  รวมทั้งความรู้สึกของผู้เดินทาง เช่น กำสรวลโคลงดั้น , นิราศเมืองเพชร , นิราศเมืองแกรง , นิราศภูเขาทอง , นิราศพระบาท

  *** รู้หรือไม่ !!!
          ละครใน หมายถึง ละครที่มีแสดงเฉพาะในเขตพระราชฐาน(ในรั้วในวัง) และที่มีระเบียบแบบแผน สุภาพ มีความพิถีพิถันตามแบบแผนกษัตริย์จริงๆ เรียกว่า "ยืนเครื่อง" ทั้งตัวพระ และตัวนาง เช่น เรื่องอุณรุฑ อิเหนา และรามเกียรติ์ 

          ละครใน หมายถึง ละครที่มีแสดงนอกเขตพระราชฐาน(นอกรั้ว นอกวัง) นิยมเล่นกันหลายเรื่อง ล้วนแต่เป็นประเภทจักรๆ วงศ์ๆ นิทานชาวบ้าน นิทานชาดก มีคติสอนใจ เช่น สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และสังข์ศิลป์ชัย 

ความงามทางวรรณคดี
                ๑.  การเล่นเสียง  คือการสรรคำให้มีเสียงสัมผัสเป็นพิเศษกว่าปกติ  เพื่อให้เกิดทำนอง  เสียงที่ไพเราะน่าฟัง  และอวดฝีมือของกวี  มีทั้งการเล่นเสียงพยัญชนะ  เล่นเสียงสระ  และเล่นเสียงวรรณยุกต์
                ๒.  การเล่นคำ  คือการสรรคำมาเรียงร้อยในคำประพันธ์  โดยพลิกแพลงให้เกิดความหมายพิเศษและแปลกออกไปจากที่ใช้กันอยู่  เพื่ออวดฝีมือของกวีเช่นเดียวกับการเล่นเสียง  ที่กล่าวถึงในที่นี้คือการเล่นคำพ้อง  การเล่นคำซ้ำ  และการเล่นคำเชิงถาม
                ๓.  การใช้ภาพพจน์  คือการใช้ถ้อยคำเพื่อจินตภาพ  (ภาพในใจ)  แก่ผู้อ่านโดยการเรียบเรียงถ้อยคำด้วยวิธีการต่างๆ  ให้พิเศษกว่าการเรียงลำดับคำหรือการใช้ความหมายของคำตามปกติ

  *** รู้หรือไม่ !!! 
           วรรณคดีที่ได้รับการยกย่อง ได้แก่ 
               1 ลิลิตพระลอ                                >>>                       ( ยอดของกลอนลิลิต )
               2 สมุทรโฆษคำฉันท์                   
>>>                       ( ยอดของวรรณกรรมคำฉันท์ )
               3 มหาชาติกลอนเทศน์               
>>>                       ( ยอดของวรรณกรรมคำกาพย์ )
              4 สามก๊ก                                        
>>>                       ( ยอดของความเรียงนิทาน )
              5 เสภาขุนช้างขุนแผน                
>>>                       ( ยอดของกลอนสุภาพ )
              6 บทละครเรื่องอิเหนา                
>>>                       ( ยอดของกลอนบทละครรำ )
              7 พระราชพิธีสิบสองเดือน        
>>>                       ( ยอดของความเรียงอธิบาย )
              8 หัวใจนักรบ                                
>>>                       ( ยอดของบทละครพูด )
              9 มัทนะพาธา                                
>>>                       ( ยอดของบทละครพูดคำฉันท์ )
           10 พระนลคำหลวง                         
>>>                       ( หนังสือดีและแต่งดีในกวีนิพนธ์ )






 



 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น