ภาษาโฆษณา
ภาษาโฆษณา คือ ภาษาที่ใช้โน้มน้าวให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านสนใจในสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ มักใช้ถ้อยคำและศิลปะการพูดที่เร้าใจจนผู้ฟังเกิดความไว้วางใจ เกิดความเชื่อถือ และประโยชน์หรือผลที่จะได้รับจากการซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นๆ
ลักษณะของการโฆษณา
๑.มีพลังชักนำ ถ้อยคำที่ใช้ในการโฆษณาจะต้องมีพลังในการจูงใจผู้ฟังหรือผู้อ่านให้สนใจสินค้านั้นๆ เช่น ข้าวถุงตราถนัดศรี ข้าวดีกินอร่อย, ฮอลล์ใหม่ทำไมใหญ่ขึ้น
๒.เกิดถ้อยคำสำนวนใหม่ ภาษาโฆษณาเป็นภาษาที่เกิดจากการสร้างสรรค์จากนักโฆษณาที่เลือกคำมาร้อยเรียง จนทำให้มีความหมายเกิดขึ้น เช่น จิบเดียวจับใจ, จิ๋วแต่แจ๋ว, สดใสซาบซ่า
๓.ใช้ความคิดสร้างสรรค์ นักโฆษณาต้องใช้ความคิดของตนเองในการคิดคำขึ้นมาใช้เพื่อให้เกิดความสนใจ ความน่าเชื่อถือ เช่น การบินไทยรักคุณเท่าฟ้า
๔.อ้างอิงสรรพคุณยิ่งใหญ่ หากจะให้สินค้ามีความน่าสนใจ ต้องอ้างสรรพคุณที่คุ้มค่าราคา เช่น คุณภาพคับแก้ว, ชัดล้านเปอร์เซ็นต์
๕.เร้าใจผู้ซื้อ ภาษาโฆษณาเป็นภาษาที่เร้าใจ โน้มน้าวใจให้ผู้พบเห็นประทับใจในสินค้า เช่น ทำเลทอง, นาทีทอง
๖.สื่อสารให้คิดในการโฆษณาต้องใช้ถ้อยคำให้ผู้พบเห็นได้คิดตาม เช่น สิ่งทีดีในชีวิต, เราห่วงใยดวงใจของคุณ
๗.ประดิษฐ์ถ้อยคำกะทัดรัด ภาษาโฆษณาที่ดีต้องใช้คำสั้น กะทัดรัด ทำให้ผู้พบเห็นรับสารได้อย่างรวดเร็ว เช่น เพื่อนคู่คิด มิตรคู่ใจ, เล็กดีรสเด็ด
๘.สร้างความเชื่อถือ ต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้รับสาร
๙.มีจุดเด่น การเลือกใช้ถ้อยคำอย่างพิถีพิถัน ใช้คำแปลกใหม่ให้เกิดความสะดุดใจ เช่น มาเริงร่าสดใสในโลกสดสวยด้วยสี
๑o.ใช้ถ้อยคำคล้องจอง โดยการสร้างวลี หรือประโยคให้สัมผัสกันเกิดความสะดุดตา และจำได้แม่นยำ เช่น เครื่องดื่มมีคุณค่า ราคาน้ำอัดลม
ส่วนประกอบของโฆษณา
๑.เนื้อหา ชี้ให้เห็นแต่ความดี พิเศษของสินค้า การบริการ
๒.รูปแบบการนำเสนอ เป็นคำขวัญ ข้อความสั้นๆ
๓. ภาษาโฆษณา ถ้อยคำแปลกใหม่ สะดุดหูสะดุดใจ
๔. การโน้มน้าวใจ อ้างสถิติบุคคล องค์กร
ประโยชน์ของการโฆษณา
๑.เปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้รู้จักสินค้าหลายประเภท การบริการที่สะดวก
๒.ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ เช่น รักษาสิ่งแวดล้อม รู้จักประหยัด
โทษของการโฆษณา
๑.เข้าใจผิด หรือหลงผิดไปตามคำโฆษณาชวนเชื่อ
๒.เสนอค่านิยมที่ผิดๆ เช่น การใช้ความรุนแรง การหลอกลวง
อิทธิพลของภาษาโฆษณา
ผู้คิดภาษาโฆษณาพยายามสรรคำที่กระชับ เข้าใจง่าย มีความเปรียบที่ชัดเจน และสามารถสื่อความหมายได้ตรงกับคุณสมบัติของสินค้าและบริการ จึงไม่เคร่งครัดในเรื่องภาษา การใช้ภาษาโดยไม่มีกรอบที่เคยใช้ เช่น
๑. ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ภาที่มีความงามระดับวรรณศิลป์ เช่น
เที่ยวเมืองไทยไม่ไปไม่รู้ ห้าห่วงทนหายห่วง งีบหนึ่งก็ถึงแล้ว บินกับการบินไทย
๒. เป็นแบบอย่างให้คนในสังคมใช้ตามจนเกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นกับภาษา เช่น เกิดคำใหม่ วลีใหม่ สำนวนใหม่ เช่น โดนใจ แทนคำว่า ประทับใจ ถูกใจ ถูกต้องแล้วครับ แทนคำ ถูก เมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะเป็นภาษาที่เปลี่ยนไปได้ในที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น